เมนู

อนุสยา อนารัมมณาติกถา



[1327] สกวาที อนุสัยเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ปรวาวี ถูกแล้ว.
ส. เป็นรูป เป็นนิพพาน เป็นจักขายตนะ ฯลฯ เป็น
โผฏฐัพพายตนะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1328] ส. กามราคานุสัย เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสัญโญชน์
กาโมฆะ กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส กามราคะ กามราคปริยุฏฐาน กามราคสัญโญชน์
กาโมฆะ กามโยคะ กามฉันทนิวรณ์ เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กามราคานุสัย เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1329] ส. กามราคานุสัย เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. นับเนื่องในขันธ์ไหน ?
ป. นับเนื่องในสังขารขันธ์.
ส. สังขารขันธ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ

ส. สังขารขันธ์เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นธรรม
ไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1330] ส. กามราคานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรม
ไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กามราคะนับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรมไม่มี
อารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. กามราคะนับเนื่องในสังขารขันธ์ และเป็นธรรมมี
อารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กามราคานุสัยนับเนื่องในสังขารขันธ์ และเป็น
สารัมมณะ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1331] ส. กามราคานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรม
ไม่มีอารมณ์ ส่วนกามราคะนับเนื่องในสังขารขันธ์ และเป็นธรรมมี
อารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่ง เป็นธรรมมีอารมณ์ แต่อีกส่วน

หนึ่ง เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่ง เป็นธรรมมีอารมณ์ แต่อีก
ส่วนหนึ่ง เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ส่วนหนึ่ง
เป็นธรรมมีอารมณ์ แต่อีกส่วนหนึ่งเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1332] ส. ปฏิฆานุสัย มานานุสัย ทิฏฐานุสัย วิจิกิจฉานุสัย
ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ อวิชชานุสัย อวิชชา-
ปริยุฏฐาน อวิชชาสัญโญชน์ อวิชชานิวรณ์ เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อวิชชา อวิชโชฆะ อวิชชาโยคะ ฯลฯ อวิชชานิวรณ์
เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อวิชชานุสัย เป็นธรรมมีอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1333] ส. อวิชชานุสัย เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. นับเนื่องในขันธ์ไหน ?

ป. นับเนื่องในสังขารขันธ์.
ส. สังขารขันธ์เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สังขารขันธ์เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ เป็นธรรม
ไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1334] ส. อวิชชานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรม
ไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อวิชชา นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรมไม่มี
อารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. อวิชชานับเนื่องในสังขารขันธ์ และเป็นธรรมมี
อารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. อวิชชานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ และเป็นธรรม
มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1335] ส. อวิชชานุสัย นับเนื่องในสังขารขันธ์ แต่เป็นธรรม
ไม่มีอารมณ์ ส่วนอวิชชานับเนื่องในสังขารขันธ์ และเป็นธรรมมีอารมณ์

หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สังขารขันธ์ส่วนหนึ่ง เป็นธรรมมีอารมณ์ แต่อีก
ส่วนหนึ่ง เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. สังขารส่วนหนึ่งเป็นธรรมมีอารมณ์ แต่อีกส่วนหนึ่ง
เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ ส่วนหนึ่งเป็น
ธรรมมีอารมณ์ แต่อีกส่วนหนึ่ง เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[1336] ป. ไม่พึงกล่าวว่า อนุสัยเป็นธรรมไม่มีอารมณ์ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ปุถุชน เมื่อจิตเป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นไปอยู่
พึงกล่าวได้ว่า เป็นผู้มีอนุสัย หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. อารมณ์ของอนุสัยเหล่านั้น มีอยู่หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น อนุสัยก็เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ น่ะสิ.
[1337] ส. ปุถุชน เมื่อจิตเป็นกุศลและอัพยากฤตเป็นไปอยู่
พึงกล่าวได้ว่า เป็นผู้มีราคะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.

ส. อารมณ์ของราคะนั้นมีอยู่หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ถ้าอย่างนั้น ราคะก็เป็นธรรมไม่มีอารมณ์ น่ะสิ.
อนุสยา อนารัมมณาติกถา จบ

อรรถกถาอนุสยา อนารัมมณาติกถา



ว่าด้วย อนุสัยเป็นธรรมไม่มีอารมณ์



บัดนี้ ชื่อว่าเรื่องอนุสัยเป็นธรรมไม่มีอารมณ์. ในเรื่องนั้น ชน
เหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะ นิกายเอกัจจะ และนิกาย
อุตตราปถกะทั้งหลายว่า ชื่อว่า อนุสัยทั้งหลาย คือกิเลสที่นอนเนื่อง
อยู่ในสันดาน ไม่ประกอบกับจิตเป็นอเหตุกะ เป็นอัพยากตะ ด้วยเหตุ
นั้นแหละ คือด้วยเหตุที่ไม่ประกอบกับจิตเป็นต้น จึงเป็นอนารัมมณะ
ดังนี้ คำถามของสกวาทีว่า อนุสัย เป็นต้น โดยหมายถึงชนเหล่านั้น
คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวกะปรวาทีนั้นว่า
อนุสัย เป็นรูป เป็นต้น เพื่อท้วงว่า ธรรมดาอนุสัยไม่มีอารมณ์ อนุสัย
นั้นก็จะพึงเป็นอย่างนี้ คือพึงเป็นอย่างรูปเป็นต้น. คำว่า กามราคะ
เป็นต้น ท่านแสดงโดยความเป็นกาม ราคานุสัยมิใช่เป็นอย่างอื่น. ใน
ปัญหาว่า สังขารขันธ์เป็นธรรมไม่มีอารมณ์หรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ
เพราะหมายเอาสังขารขันธ์ที่สัมปยุตด้วยจิต ย่อมตอบรับรองหมายเอา
อนุสัย ชีวิตินทรีย์ และรูปมีกายกรรมเป็นต้น ว่าเป็นธรรมนับเนื่องด้วย
สังขารขันธ์. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความในวาระทั้งปวงโดยอุบายนี้แล.